รู้จัก NFT คืออะไร ทำไมถึงได้รับความนิยม

พ.ค. 28, 2022 | บทความทั่วไป, สาระน่ารู้

ด้วยกระแสสินทรัพย์ดิจิทัลมาแรงมากในยุคปัจจุบันหนึ่งในนั้นคือ คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) เหรียญที่กำลังเป็นกระแสแต่ยังมีอีกหนึ่งสินทรัพย์ที่คนพึ่งรู้จักเมื่อไม่นานแต่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม นั่นคือการ “ลงทุน NFT” ซึ่งการลงทุน มีข้อดีข้อเสียอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างผลงาน NFT ซึ่งจะน่าสนใจแค่ไหนมาติดตามกัน 

NFT คืออะไร

NFT ย่อมาจาก Non-Fungible Token คือสินทรัพย์ดิจิทัลที่ทำขึ้นมาในรูปแบบโทเค็น (Token) ซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะตัวไม่มีอะไรมาทดแทนได้ซึ่งมักใช้กับงานศิลปะ อาทิ รูปภาพ เพลง หนัง หรือไอเท็มเกมที่นำมาซื้อขายผ่านแพลตฟอร์ม NFT เท่านั้นซึ่งไม่สามารถเทรดบนตลาดคลิปโตทั่วไปอย่าง Bitkub, Binnace, Zipmex เป็นต้น 

ส่วน NFT Art คือ สินทรัพย์ดิจิทัลในตระกูล NFT แต่จะเกี่ยวข้องกับแขนงงานศิลปะทุกประเภทซึ่งไม่ได้มีเพียงแค่รูปภาพเท่านั้น แต่ยังหมายถึงงานเขียน งานดนตรี ของสะสม รูปปั้น โมเดลการ์ตูน หรือการ์ดเกมต่าง ๆ เป็นต้น 

NFT ข้อดี -ข้อเสีย

รู้จัก NFT กันคร่าว ๆ แล้วต่อมาก็จะเป็นอธิบายว่า NFT ข้อดี – ข้อเสียอย่างไรเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาก่อนลงทุน ดังนี้ 

ข้อดี: ไม่สามารถทำซ้ำ หรือคัดลอกได้, สามารถโอนหากันได้โดยไม่มีคนกลาง, มีความปลอดภัยเพราะทุกธุรกรรมจะถูกบันทึก (Record) ไว้ไม่สามารถแก้ไขและสามารถตรวจสอบประวัติการโอนย้ายได้ทั้งหมด, การถือครองเป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นแต่เพียงผู้เดียว

ข้อเสีย: คุณค่าของผลงาน NFT ล้วนแต่ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคล คล้ายกับศิลปะหรือของสะสมนั่นเอง

NFT ทำการซื้อ-ขายกันผ่านระบบใด

NFT จะทำการซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มตลาด NFT เท่านั้น โดยมี 5 ตลาดที่ค่อนข้างได้รับความนิยม ได้แก่ OpenSea, Rarible, SuperRare, Nifty Gateway, Foundation ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาทั้งหมดจะใช้เฉพาะการซื้อขายเกี่ยวกับผลงาน NFT ศิลปะ เช่น รูปภาพ บทเพลง ทั้งที่มาจากศิลปินดัง หรือบุคคลทั่วไปโดยไม่รวม NFT ในรูปแบบอื่น ๆ เช่น เกมต่าง ๆ 

สร้างรายได้ผ่าน NFT ได้อย่างไร 

หากคุณมีผลงาน NFT และรู้จักแพลตฟอร์มสำหรับซื้อขาย NFT กันไปแล้ว ต่อมาก็จะมาทำความเข้าใจเรื่องระบบการซื้อขายว่าจะสร้างรายได้ผ่าน NFT ได้อย่างไร 

  • โดยเริ่มต้นจากการสร้างบัญชีบนแพลตฟอร์มที่คุณต้องการเลือกใช้งาน OpenSea, Rarible, SuperRare, Nifty Gateway, Foundation
  • จากนั้นให้เข้าไปในส่วนของกระเป๋าเงินดิจิทัลเพื่อเติมเงินเข้ากระเป๋า โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบคริปโตเคอร์เรนซีก่อนถูกแปลงไปเป็นไฟล์ดิจิทัล NFT 
  • จากนั้นให้อัปโหลดผลงานศิลปะไม่ว่าจะเป็นไฟล์ภาพ, วีดิโอ, เพลงลงบนแพลตฟอร์มที่ต้องการ
  • เมื่อเลือกไฟล์ที่ต้องการอัปโหลดเรียบร้อยแล้วให้เราเลือกว่าเราต้องการที่จะเลือกขายสินค้าจากราคาป้าย (Fixed prices) หรือจะตั้งขายแบบประมูลแบบกำหนดเวลาและเปิดให้แข่งกันเสนอราคา
  • เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยให้เราจ่ายบริการสร้างไฟล์ NFT หรือ Gas Free ซึ่งเมื่อชำระเสร็จสิ้นก็จะมีการสร้างการซื้อขายกับเราและเมื่อมีผู้ซื้อเราก็จะได้รับเงินจากแพลตฟอร์ม 

ตัวอย่างผลงาน NFT

ทิ้งท้ายด้วย 5 ตัวอย่างผลงาน NFT ที่มีการซื้อขายราคาสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา ได้แก่ 

  1. Right-Click and Save As Guy โดย XCOPY ซึ่งเป็นภาพเคลื่อนไหว NFT Cypto Art ซึ่งจะรูปแบบเสียดสีผู้ที่ไม่เชื่อในคุณค่าของผลงาน Digital Art โดยมีราคาสูงถึง 7.09 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 227ล้านบาท)
  2. CryptoPunk #7804 โดย Larva Labs จะเป็นตัวละครในรูปแบบพิกเซลซึ่งเป็นหนึ่งใน 9 ของคอลเลกชัน Cypto Punk โดยมีราคา 7.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 243.2 ล้านบาท)
  3. CryptoPunk #7523 โดย Larva Labs เป็นหนึ่งในคอลเลกชัน Cypto Punk ที่ได้รับฉายาว่าเป็นเอเลี่ยนยุคโควิดซึ่งนอกจากจะใส่หมวกแล้วยังใส่หน้ากากอนามัยอีกด้วยมีราคาสูงถึง 11.75 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 376 ล้านบาท)
  4. CryptoPunk #4156 โดย Larva Labs muj เป็นหนึ่งใน 24 ของกลุ่ม APE ใน Cyberpunkได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของผู้มีอิทธิพลในวงการ NFTมีราคาสูงถึง 10.27 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 328.64 ล้านบาท)
  5. CryptoPunk #3100 โดย Larva Labs เป็นหนึ่งในตระกูลเอเลี่ยน แต่ต่างที่มีผ้าคาดหัวซึ่งเป็นหนึ่งในคอลเลกชัน Cypto Punk ที่มีราคาประมาณ 7.67 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 245.44 ล้านบาท) 

จากที่กล่าวมาทั้งหมดคงจะช่วยให้ผู้ที่สนใจลงทุน NFT ทราบว่า non-fungible token คืออะไร ทำไมถึงน่าลงทุนจากการนำข้อดีข้อเสียมาพิจารณา พร้อมยกตัวอย่างแพลตฟอร์มการซื้อขายยอดนิยม รวมถึงวิธีการซื้อขายตั้งแต่การอัปโหลดผลงานไปจนถึงการแปลงสินทรัพย์เข้ากระเป๋าเงินดิจิทัลเงินของคุณและทิ้งท้ายด้วย 5 ผลงาน NFT ที่มีราคาแพงที่สุดซึ่งสะท้อนให้ผู้สนใจเห็นว่า NFT สามารถสร้างได้จริงถึงหลักร้อยล้านเลยทีเดียว 

แต่ถึงอย่างไรก่อนการลงทุนทุกครั้งควรศึกษาเงื่อนไขบริการและข้อกำหนดต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุนให้มากที่สุด