ในยุคที่ดิจิทัลก้าวหน้าไปอีกขั้นทำให้ผลงานศิลปะ NFT เป็นอีกหนึ่งกระแสที่ถูกพูดถึงไม่น้อยในช่วงที่มีการเติบโตของ Cryptocurrency ที่สามารถขายผลงานออนไลน์ในรูปแบบโทเค็น (Token) ซึ่งด้วยกระแสที่ค่อนข้างร้อนแรง หลายคนจึงเริ่มสงสัยว่าเป็นเพียงแค่สินทรัพย์ที่ปั่นราคาหรือไม่ วันนี้เราจึงจะพาคุณผู้อ่านไปทำความเข้าใจว่า NFT Art คืออะไร มีกี่ประเภท พร้อมเคล็ดลับสำหรับผู้สนใจเริ่มต้น NFT Art
รู้จักข้อดีข้อเสียของ NFT Art
คงจะพอทราบกันไปแล้วว่า NFT เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลรูปแบบหนึ่งที่กำลังมาแรงซึ่งมีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง มาติดตามกัน
ข้อดี: เปิดโอกาสให้คนทั่วไปที่มีความชื่นชอบในผลงานศิลปะสามารถสร้างรายได้ผ่าน NFT ได้, แพลตฟอร์มสำหรับซื้อขายในปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลาย, สามารถตั้งราคาขายได้ทั้งราคาป้ายและการประมูล, ระบบส่วนใหญ่ค่อนข้างมีความปลอดภัย, ไม่ต้องไปจัดแสดงงานนิทรรศการ หรือออกงานต่าง ๆ เพียงแค่อัพโหลดไฟล์ก็สามารถสร้างรายได้โดยไม่ต้องลงทุน
ข้อเสีย: มีค่าแก๊ส (ค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย) ค่อนข้างสูง, สภาพคล่องในการซื้อขาย NFT ค่อนข้างต่ำจึงควรระมัดระวังสำหรับคนที่ต้องการซื้อเพื่อเกร็งกำไร, ตลาดมีความผันผวนสูงเนื่องจากมีการซื้อขายตลอด 24 ชั่วโมง, โปรเจคต่าง ๆ อาจถูกยกเลิกกลางคันเมื่อไหร่ก็ได้ รวมถึงสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของและปัญหาเรื่องการขโมยลิขสิทธิ์ก็ยังมีให้พบเห็นอยู่เป็นประจำ
NFT จึงเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่น่าสนใจแต่ควรทำการศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขต่าง ๆ ก่อนลงทุนเพื่อประโยชน์และความคุ้มค่าแก่ผู้ลงทุน
NFT ART เริ่มต้นลงทุนอย่างไร
ทราบกันไปแล้วว่า ภาพ NFT คืออะไรซึ่งจริง ๆ แล้วจะศัพท์อีกหนึ่งคำที่หลายคนคุ้นหู Crypto Art คือสินทรัพย์ดิจิทัลเช่นเดียวกับ NFT เพียงแค่เป็นกลุ่มย่อยที่อยู่ NFT ซึ่งจะเกี่ยวข้องงานศิลปะเป็นหลักซึ่งเราจะกล่าวต่อเป็นลำดับถัดไปว่า NFT Art เริ่มต้นลงทุนอย่างไร
สำหรับการเริ่มต้นลงทุน NFT Art คือการศึกษาแพลตฟอร์มซื้อขาย NFT โดยได้คัดเลือก 4 Marketplace ยอดฮิตที่จะมาเทียบให้เห็นความแตกต่างว่าแต่ละช่องทางมีจุดเด่นและต่างกันอย่างไร
ตารางเปรียบเทียบ NFT Marketplace ยอดฮิต
Foundation.app | OpenSea | Crypto.com | HEN | |
ปีที่ก่อตั้ง | 2020 | 2017 | 2016 | 2021 |
Blockchain | Ethereum | Ethereum | Crypto.org Chain | Tezos |
ส่วนแบ่งตลาด | <1% | 97% | <1% | <1% |
สกุลเงินที่รองรับ | ETH | ETH | 22 สกุล* | TEZ |
ค่าธรรมเนียม | 15% | 2.5% | 1.99% | 2.5% |
ค่าแก๊ส | จ่ายก่อนทุกชิ้น | จ่ายครั้งเดียวตอนเข้า | ไม่มี | < 1 USD |
ข้อควรรู้ | สไตล์การประมูลราคาสูงซึ่งงานจะลงทีละชิ้น | แนวคอลเลกชันขายถูก แต่เน้นปริมาณ | ต้นทุนขายถูกราคาเลยถูกตามจึงขายได้ง่ายกว่า | เป็นที่นิยมในคอมมูนิตี้ศิลปินราคาถูกเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม |
The Creator/Project | Nyan Cat, James Jean, WLOP | Bored Ape Yacth Club, CryptoPunks | Snoop Doggm, Aston Martin | Alex Konstad, John Karel |
หมายเหตุ: สกุลเงินที่รองรับ ได้แก่ CPO, USDC, TUSD, USDT, BTC, ETH, AAVE, BAL, COMP, CRV, DOGE, ENJ, KNC, LINK, LRC, LTC, MRC, REN, SNX, UNI, WBTC, XRP, YFI, SHIB
ขอบคุณข้อมูลจาก https://thestandard.co/nft-marketplace/
โดยทั้ง 4 NFT Marketplace จะมีจุดเด่นในแต่ละด้านต่างกัน เช่น ส่วนแบ่งทางการตลาดที่ OpenSea จะมีเปอร์เซ็นต์สูงที่สุด หรือระบบบล็อกเชนอย่าง Foundation.app และ OpenSea ที่ใช้ระบบเดียวกัน (Ethereum) เช่นเดียวกับสกุลเงินที่รองรับ ส่วนความต่างที่เห็นได้ชัดคือเรื่องค่าธรรมเนียมที่เริ่มต้นต่ำสุดเพียง 1.99 – 15% และข้อควรรู้เกี่ยวกับแนวทางการขายที่ค่อนข้างแตกต่างกัน
ตัวอย่างการสร้าง NFT Art บน OpenSea
สำหรับผู้ที่ต้องการเปิดผ่าน Opensea สิ่งแรกที่ต้องมีคือ กระเป๋า Wallet Etheream เพื่อใช้เป็นสกุลเงินในการซื้อขายซึ่งสามารถสมัครผ่านเว็บไซต์ OpenSea.io ซึ่งให้ผูกบัญชีเชื่อมกับการให้ใส่ที่อยู่ของ Wallet Etheream ของเรา
เมื่อสมัครเสร็จแล้วให้ไปที่ Create เพื่ออัพโหลดผลงานขึ้นสู่หน้าเว็บไซต์ (คุณภาพและความละเอียดขึ้นอยู่กับเว็บไซต์กำหนด) ถ้าหากผลงานถูกใจเกิดการซื้อขายผ่าน Wallet Etheream ซึ่งเหรียญจะถูกโอนเข้ากระเป๋าของเราโดยตรงและจะโดนหักค่าคอมมิชชั่นอยู่ที่ประมาณ 2.5% จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม OpenSea จึงเป็นอีกหนึ่งเว็บไซต์ซื้อขาย NFT Art ที่ค่อนข้างได้รับความนิยม
นอกจาก OpenSea ก็มีอีกหลายเว็บไซต์ที่มีการเปิดให้ซื้อขาย NFT อาทิ Nifty Gateway, Binance.com, Foundation, Superrare, Async, Mintable, Makersplace และ knownorigin ที่มีขั้นตอนและวิธีการสร้าง NFT คล้ายคลึงกับ OpenSea แต่จะมีความแตกต่างในเรื่องของสุกลเงิน การรองรับระบบ Blockchain ค่าแก๊ส ค่าธรรมเนียมและฟังก์ชันต่าง ๆ ที่อาจแตกต่างกันออกไป
5 ตัวอย่างผลงาน NFT ในประเทศไทย
ก่อนจะไปพบกับตัวอย่างผลงาน ขออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขายรูป NFT คือ การนำผลงานศิลปะมาอัปโหลดผ่านแพลตฟอร์มซื้อขาย อาทิเช่น OpenSea, Foundation.app, Crypto.com, Binance NFT, HEN, Ripple ซึ่งสามารถตั้งขายตามราคาป้ายที่ต้องการ หรืออาจจะตั้งขายเป็นแบบประมูลเพื่อรอผู้ซื้อมาบิดแข่งขันราคาตามช่วงเวลาที่กำหนดซึ่งหากใครบิดราคาสูงสุดก็จะเป็นผู้ชนะได้รับชิ้นงานไป ส่วนศิลปิน ครีเอเตอร์ หรือแบรนด์หลังเสร็จสิ้นการซื้อขายก็รอเพียงการทำธุรกรรมจากแพลตฟอร์มโอนเข้าบัญชี
5 ผลงาน NFT โดยคนไทย
- Ape Kids Club (1,000 ล้านบาท) โดย Kun Vic ภายใต้แนวคิด Ape Kids Club 10,000 ชิ้น จับมือกับ Bored Ape Yacht Club
- Gangster All Star (4.7 ล้านบาท) โดย The Duang ภายใต้แนวคิด NFT Collection การ์ดตัวละครหัวหน้ามาเฟียและลูกน้องในแก๊งและมีคาแรกเตอร์สายบู๊แตกต่างกันออกไป
- The Invitation (1.1 ล้านบาท) โดย IPUTSA ภายใต้แนวคิดเกี่ยวกับตัวศิลปินและกระแสคริปโตที่เพิ่มกิมมิคของความละเอียดและความหมายของสัญลักษณ์ต่าง ๆ
- CryptoFriends (2.8 แสนบาท) โดย BleBle158 ภายใต้แนวคิดที่เปรียบเสมือนโลกแห่งความจริงกับความฝันเพื่อสื่อถึงความไร้ขอบเขตของเทคโนโลยีคริปโตเคอร์เรนซี
- Reject humanity return to monkey (1.7 แสนบาท) โดย โบว์ ปัณฑิตา ภายใต้แนวคิดละทิ้งความเป็นมนุษย์หวนคืนสู่วานร เป็นภาพวาดสีน้ำมันแนวแฟนตาซีที่ได้รับการจับตามองจากนักสะสม
จากแนวคิดของศิลปินสู่การถ่ายทอดผลงานศิลปะออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งช่วยยกระดับคุณค่างานฝีมือของคนไทยเองที่สะท้อนให้เห็นแล้วว่า คนไทยก็มีศักยภาพในการสร้างสรรค์งานศิลปะซึ่งไม่ต้องรอรับการสนับสนุนเช่นในอดีต แต่ในปัจจุบันเปิดโอกาสให้ผู้คนที่มีความสามารถได้เข้าสู่วงการและเฉิดฉายไดง่ายมากขึ้น
งานศิลปะ NFT จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ศิลปิน ครีเอเตอร์และแบรนด์ต่าง ๆ ที่มีความชื่นชอบและหลงใหลในงานศิลปะผ่านการออกแบบและเสอนขายภาพ NFT ซึ่งรอเพียงคนเข้ามาสนใจและตัดสินใจซื้อขายเพียงเท่านี้ก็รอรับเงินเข้ากระเป๋าตังดิจิทัล แต่อย่างไรก็ควรศึกษาเงื่อนไขและบริการในแต่ละแพลตฟอร์มอย่าถี่ถ้วนเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้สร้างและผู้ซื้อ