ไส้หมอนแต่ละประเภท

ต.ค. 17, 2021 | ความรู้เรื่องหมอน

ไส้หมอนหรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Pillow Stuffing นั้นผลิตมาจากวัสดุหลากหลายประเภท โดยหากจะถามว่าไส้หมอนทำมาจากอะไรบ้างก็ต้องตอบว่าขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ผลิตหรือแบรนด์นั้นๆ ว่าจะนำหมอนเหล่านั้นไปใช้งานในด้านไหน อาทิ หมอนหนุนศีรษะ หมอนอิง หมอนตุ๊กตา หมอนผ้าห่ม เป็นต้น ซึ่งไส้หมอนแต่ละประเภทก็จะมีคุณสมบัติและข้อดีที่แตกต่างกันออกไป ว่าแต่ประเภทของไส้หมอนจะมีอะไรบ้างและข้อดีของไส้หมอนแต่ละประเภทจะเป็นอย่างไรตามมาดูกันเลย

หมอนหนุนหัวไส้ใยสังเคราะห์

1. ไส้หมอนจากเส้นใยสังเคราะห์

แน่นอนว่าไม่มีใครไม่รู้สำหรับไส้หมอนเส้นใยสังเคราะห์ เพราะไส้หมอนชนิดนี้เป็นไส้ประเภทที่ที่ได้รับความนิยมสูงและใช้กันมากที่สุด เนื่องจากมีการดูแลรักษาง่าย ซักทำความสะอาดได้ง่าย มีน้ำหนักเบา และราคาไม่แพง โดยวัสดุที่จะนำมาใช้ผลิตเป็นเส้นใยสังเคราะห์นั้น มักจะทำมาจากเส้นใยเคมีสังเคราะห์อย่างโพลีเอสเตอร์ ซึ่งตามท้องตลาดก็มักจะมีหลายเกรดหลายราคาให้เลือกตามความต้องการ นิยมนำไปใช้เป็นไส้หมอนอิง

ไส้หมอนจากยางธรรมชาติ

2. ไส้หมอนจากยางธรรมชาติ

ไส้หมอนที่ผลิตจากน้ำยางธรรมชาติ เป็นอีกหนึ่งวัสดุที่นิยมมาใช้ในการผลิตหมอนโดยผลิตออกมาเป็นรูปทรงสำหรับการรองรับสรีระส่วนของคอได้อย่างดี เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับหมอนรักษาสุขภาพต้นคอ และช่วยแก้ไขอาการปวดต้นคอ โดยจะช่วยทำให้ตัวหมอนมีความนุ่ม แน่น และยืดหยุ่นได้ดี แต่จะไม่สามารถนำไปซักได้ และจะมีราคาค่อนข้างสูงตามเกรดของยางพารา

หมอนไส้นุ่นหรือไส้ขนเป็น

3. ไส้หมอนจากขนเป็ดหรือขนห่าน

ไส้หมอนที่ทำมาจากของขนเป็ดหรือขนห่าน จะมอบสัมผัสที่ความนุ่มฟู มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน โดยขั้นตอนการผลิตนั้นก็จะมีสัดส่วนของขนแต่ละชนิดในการทำหมอนที่แตกต่างกันไป ข้อดีของหมอนที่มีไส้ขนสัตว์คือ ความทนทาน มีสัมผัสที่นุ่มสบาย รองรับสรีระส่วนคอได้ดี ส่วนข้อเสียคือ อาจจะไม่เหมาะกับผู้เป็นโรคภูมิแพ้ขนสัตว์ รวมถึงทางด้านราคาที่ค่อนข้างสูง

4. ไส้หมอนจากนุ่น

นุ่นเป็นวัสดุที่ได้จากธรรมชาติ มีคุณสมบัติในการระบายอากาศได้ดี แต่ถึงแม้จะเป็นหมอนที่มีความหนาแน่นสูงเมื่อใช้งานแรกๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไปจะให้สัมผัสที่นุ่มลงเรื่อยๆ และไม่สามารถคืนตัวได้ จึงเหมาะกับการนำไปทำเป็นหมอนอิงมากกว่าหมอนหนุน โดยผู้ใช้งานสามารถซักทำความสะอาดหมอนได้ อีกทั้งยังเหมาะกับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้อีกด้วย

ไส้หมอนจากเม็ดไมโครบีดส์

5. ไส้หมอนจากเม็ดไมโครบีดส์

เม็ดไมโครบีดส์เป็นอีกหนึ่งวัสดุที่นิยมนำมาทำเป็นหมอนพักมือหรือหมอนหนุนคอสำหรับเดินทาง โดยมีคุณสมบัติที่สามารถปรับเปลี่ยนไปตามรูปสรีระของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา ซึ่งมักจะเห็นผู้ผลิตเลือกใช้เม็ดไมโครบีดส์คู่กับผ้ายืด เพื่อมอบผิวสัมผัสที่นุ่มสบาย

ไส้หมอนจากพืช

6. ไส้หมอนจากพืช

ปัจจุบันมีตัวเลือกไส้หมอนจากพืชมากขึ้น โดยถือเป็นอีกหนึ่งไส้หมอนสำหรับคนรักสุขภาพ โดยพืชที่จะนำมาทำไส้หมอนมีทั้งที่ทำจากเปลือกไม้ ไส้หมอนจากใบชา เนื่องจากตัวไส้หมอนมีการนำไปวิจัย ซึ่งมีคุณสมบัติในการรองรับสรีระส่วนคอของผู้ที่มีปัญหาปวดเปื่อยต้นคอได้ดี สามารถถ่ายเทอากาศ และระบายความชื้นได้ดี แต่ข้อเสียคือ ตัวไส้อาจจะส่งเสียงรบกวนเมื่อเปลี่ยนท่าทางการนอน อีกทั้งยังมีราคาค่อนข้างสูงด้วย

และทั้งหมดนี้คือไส้หมอนทั้ง 6 ประเภทที่นิยมนำมาใช้ผลิตหมอนประเภทต่างๆ โดยนอกจากเรื่องของการเลือกไส้หมอนแล้ว หากจะเลือกซื้อหมอนให้มีประสิทธิภาพจะต้องคำนึงถึงถึงการเลือกขนาดของหมอนด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกหมอนหนุนศีรษะ ตามมาตรฐานของหมอนควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้ว ไม่สูงจนเกินหรือต่ำจนเกินไป เพราะอาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาความเมื่อยล้าจากการพักผ่อนได้